
เดอะครูว์ (วิดีโอเกม)
- troyhuangg
- 0
- Posted on
เดอะครูว์ (The Crew) เป็นเป็นวิดีโอเกมออนไลน์แนวแข่งรถ พัฒนาโดยไอวอรี่ทาวเวอร์ และยูบิซอฟต์รีเฟลกซ์ชัน และจัดจำหน่ายโดยยูบิซอฟต์ สำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน และ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และมีการพอร์ตลงไปยังเอกซ์บอกซ์ 360 โดยอโซโบสตูดิโอ เดอะครูว์ ได้รับเสียงตอบรับผสมผสานกันหลังจากเปิดตัว สื่อชื่นชมการออกแบบโลกภายในเกม แต่ตำหนิการบังคับให้ออนไลน์ตลอดเวลา ทำให้มีข้อผิดพลาดทางเทคนิคต่าง ๆ อินเตอร์เฟซผู้ใช้ที่เข้าใจยาก และการมีไมโครทรานซแอกชัน ตัวเกมขายได้สองล้านฉบับภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เดอะครูว์ มีภาคเสริมชื่อ ไวด์รัน ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และมีภาคเสริมอีกตัวหนึ่งชื่อ คอลลิงออลยูนิทส์ ที่เปิดตัวที่งานเกมคอม 2016 และวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และมีการเปิดตัวเกมภาคต่อในชื่อ เดอะครูว์ 2 ซึ่งได้วางจำหน่ายทั่วโลกเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561
เดอะครูว์ เป็นเกมแนวแข่งรถโอเพ่นเวอร์ด ภายในโลกของสหรัฐอเมริกาภาคพื้นทวีปขนาดย่อส่วนที่สร้างขึ้นใหม่ แผนที่ในเกมแบ่งออกเป็นห้าภูมิภา มิดเวสต์ ชายฝั่งตะวันออก ภาคใต้ เมาเทนสเตทส์ และชายฝั่งตะวันตก แต่ละภูมิภาคมีลักษณะทางภูมิประเทศเฉพาะของตัวเอง หกนครขนาดใหญ่สามารถพบได้ในเกม ดีทรอยต์และชิคาโกในมิดเวสต์ นครนิวยอร์กในชายฝั่งตะวันออก ไมแอมีในภาคใต้ ลาสเวกัสในเมาเทนสเตทส์ และลอสแอนเจลิสในชายฝั่งตะวันตก นครอื่นๆ มากมาย เช่น เซนต์หลุยส์ วอชิงตัน ดี.ซี. นิวออร์ลีนส์ แดลลัส ซอลต์เลกซิตี แซนตาเฟ ซานฟรานซิสโก และซีแอตเทิล สามารถพบได้ในเกม นอกจากนี้ยังมีนครขนาดเล็กมากกว่า 30 แห่งพบได้ตามชนบท เช่น แนชวิลล์ นอร์ฟอล์ก และอื่น ๆ การขับขี่ในเกมจากชายฝั่งไปยังอีกชายฝั่งหนึ่งจะต้องใช้เวลาในโลกความเป็นจริงราวๆ 45 นาที
เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อ อเล็กซ์ เทย์เลอร์ (พากย์โดย ทรอย เบเคอร์) กำลังถูกตำรวจตามล่าใกล้ดีทรอยต์ หลังจากหนีตำรวจสำเร็จ พบรถเชฟโรเลตแคมมาโรที่แฮรี่ทิ้งไว้ให้ แฮรี่กล่าวว่าพี่ชายของอเล็กซ์ และผู้ก่อตั้งชมรมไฟว์เทนมอเตอร์คลับ ชื่อเดย์ตัน ต้องการจะพบตัว เดย์ตันขอร้องให้อเล็กซ์ขับพาเขาไปส่งที่สะพานเอมบาสสาดอร์บริดจ์ เมื่อไปถึง เดย์ตันขอให้อเล็กซ์ก้มหัวลงต่ำ รถฟอร์ดจีทีโผล่มา เดย์ตันไปคุยกับเจ้าของรถคันดังกล่าวก่อนจะเดินกลับไปที่แคมราโร แต่ก่อนจะเดินกลับได้ คนขับรถฟอร์ดยิงเดย์ตันแล้วหนีไป อเล็กซ์รีบไปดูเดย์ตันทันที แต่กลับโดนตำรวจจับกุมและเดย์ตันถูกปล่อยให้เสียชีวิต อเล็กซ์กล่าวหาว่าฆาตกรรมเดย์ตันโดยเจ้าหน้าที่พิเศษ บิล โคเบิร์น จากสำนักงานสอบสวนกลาง และถูกตัดสินจำคุก ห้าปีถัดมา อเล็กซ์พบกับเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง โซอี้ วินเทอรส์ เพื่อรับทราบว่าจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวหากอเล็กซ์ยินดีที่จะร่วมมือกับสำนักงานสอบสวนกลางเพื่อเปิดโปงการทุจริตของโคเบิร์น และหาความจริงในการฆาตกรรมของเดย์ตัน โดยอเล็กซ์จะต้องแฝงตัวเข้าไปในไฟว์เทนมอเตอร์คลับ และเลื่อนระดับของตัวเองในชมรม เพื่อให้อเล็กซ์แก้แค้นโคเบิร์นและส่งตัวมาให้โซอี้ได้ และสุดท้ายก็พบฆาตกรของพี่ชายของเขา ซึ่งเป็นผู้นำคนใหม่ของชมรม เดนนิส “ชิฟ” เจฟเฟอร์สัน
ไฟนอลแฟนตาซีสามภาคแรกถูกวางจำหน่ายบนเครื่องเกมนินเทนโด (NES) เกมภาคแรกวางตลาดญี่ปุ่นในปีค.ศ. 1987 และตลาดอเมริกาเหนือในปีค.ศ. 1990 และกลายเป็นเกมที่สร้างแรงบันดาลใจใก้แก่เกมแนวสวมบทบาท (RPG) บนเครื่องเกมจำนวนมาก มีการนำไปลงเครื่องเกมอื่นๆอีกในเวลาต่อมา เกมภาคสองวางตลาดญี่ปุ่นในปีค.ศ. 1988 และเกมภาคสามวางตลาดญี่ปุ่นในปีค.ศ. 1990 สัญลักษณ์หลักของไฟนอลแฟนตาซี แม้ว่า ไฟนอลแฟนตาซี ในแต่ละภาคจะมีเรื่องราวและระบบการเล่นต่างกัน แต่ก็มีสิ่งที่มีอิทธิพลหลักๆต่อรูปลักษณ์ของเกมเหมือนๆ กันในทุกภาค เช่น ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ เรื่องลึกลับ บางอย่างในเกม เช่น มอนสเตอร์ ไอเท็ม สิ่งของบางสิ่ง ตัวละครบางตัว ก็วนเวียนมาให้เห็นในเกือบทุกภาค และเป็นสิ่งที่ ไฟนอลแฟนตาซี ขาดมิได้ ถ้าขาดไป กลิ่นอายและเสน่ห์ของเกมก็คงจะจืดจาง เรือเหาะ – สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้เป็นพาหนะขนาดใหญ่ ทำให้เราสามารถบินข้ามฟาก ไปยังที่ต่างๆ ในแผนที่โลกของภาคๆ นั้นๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และไม่ต้องต่อสู้กับมอนสเตอร์ขณะเดินทาง นอกจากเป็นพาหนะแล้ว เรือเหาะยังเป็นคีย์ดำเนินเรื่องในเกือบทุกภาค ที่สังเกตได้ชัดใน ไฟนอลแฟนตาซี IV และ ไฟนอลแฟนตาซี IX บางครั้ง เรือเหาะก็ขับเคลื่อนโดยใบพัดขนาดยักษ์ หรือบอลลูน หรือเป็นยานอวกาศเลยก็มี ประเภทตัวละคร หรือ ระบบอาชีพ – ตัวละครที่บังคับได้อาจจะเป็น นักรบ นักเวทมนตร์ขาว นักเวทมนตร์ดำ พระ หรือขโมย ในบางภาคที่ผู้เล่นไม่สามารถเลือกประเภทของตัวละครที่จะเล่นได้ เพราะเป็นตัวละครดำเนินเรื่องหลัก นอกจากนี้ ใน ไฟนอลแฟนตาซี III, ไฟนอลแฟนตาซี V และ ไฟนอลแฟนตาซี แทคติกส์ ได้มีระบบ Job ให้เปลี่ยนประเภทของตัวละครได้ในขณะต่อสู้ด้วย แต่ใน ไฟนอลแฟนตาซี X-2 เรียกระบบ Job ว่า Dressphere ในแต่ละ Job และตัวละครก็จะมีอาวุธในตำนานที่ต้องเสาะหาในระหว่างเล่นเพื่อให้ตัวละครมีความสามารถสูงสุด เช่น ดาบมาสะมุเนะ ของนักรบ และ คาถาอัลทิม่าของนักเวทย์ดำ เป็นต้น
เวทมนตร์ – เวทมนตร์ใน ไฟนอลแฟนตาซี จะถูกแบ่งแยกเป็นสำนักเวทย์ต่างๆ ซึ่งมักตั้งชื่อตามสี เช่น มนต์ขาว ใช้สำหรับช่วยเหลือและรักษาผู้อื่น มนต์ดำ ใช้สำหรับโจมตี ในขณะที่ มนต์แดง ได้รวมคุณสมบัติช่วยเหลือและโจมตีเข้าไว้ด้วยกัน ต่อมาได้มีการเพิ่ม มนต์น้ำเงิน (บางครั้งเรียกว่า การเรียนรู้ Lore หรือทักษะคู่ต่อสู้ Enemy Skill) ใช้สำหรับเลียนแบบการโจมตีของคู่ต่อสู้ มนต์เวลา เช่น Haste มนต์แรงโน้มถ่วง เช่น Demi มนต์ที่ใหม่ที่สุดในขณะนี้ คือ มนต์เขียว ซึ่งปรากฏใน ไฟนอลแฟนตาซี X-2 โดยใช้ชื่อว่า Sing และจะมีความสำคัญมากขึ้นใน ไฟนอลแฟนตาซี XII ารติดสถานะ และการรักษา – การติดสถานะต่างๆ ระหว่างการต่อสู้จะทำให้ตัวละครมีความสามารถลดลง เช่น การใบ้ทำให้ไม่สามารถใช้มนต์ได้ การติดพิษทำให้เสียพลังชีวิตในเวลาที่กำหนด การสับสนทำให้โจมตีพลาด การกลายเป็นหินทำให้ไม่สามารถทำอะไรได้เลย สำหรับการรักษา ต้องใช้ไอเท็มเฉพาะสำหรับแต่ละอาการ เช่น Echo Screen รักษาการใบ้ Soft รักษาการกลายเป็นหิน หรืออาจใช้มนต์ขาวก็ได้ เช่น Esuna หรือ Panacea เป็นต้น มอนสเตอร์ – ในทุกๆ ภาคตั้งแต่ภาค 3 เป็นต้นมา เราจะเห็นสัตว์ประหลาด ที่เราสามารถ ใช้ หรือ ต่อสู้ด้วยเหมือนๆ กัน เช่น เจ้าตัวที่เราทุกๆ คน รู้จักมักคุ้นมากที่สุด โจโคโบะ หรือ มูเกิล ซึ่งเป็นเหมือนตัวช่วยและผู้นำทาง ทั้งยังมีหน้าตาที่น่ารัก น่าเอ็นดู และเป็นขวัญใจของแฟนๆไฟนอลแฟนตาซีอีกด้วย และมอนสเตอร์ที่ออกมาเกือบทุกภาค เช่น ทอนเบอร์รี่ และ แคคทัวร์ นอกจากนี้ยังมี Summoned Monsters (หรือ Espers Guardian Forces Eidolons หรือ Aeons ที่เรียกต่างกันแล้วแต่ภาค) ที่เราสามารถอัญเชิญออกมาเพื่อช่วยต่อสู้ได้ เช่น Bahamut Shiva Ifrit Leviathan และ Ramuh ที่ออกมาให้เห็นในเกือบทุกภาคตั้งแต่ภาค 3 เป็นต้นมา ชื่อตัวละคร -ในเรื่องจะมาจากตำนานเทพเจ้าของหลายๆตำนาน เช่น กิลกาเมช หรือ แร็กนาร็อก จะทำให้เห็นว่า หลายตัวละครมีออกมาบ่อยซึ่งบางครั้งจะเป็นตัวละครเดิม หรือตัวละครใหม่แต่ใช้ชื่อร่วมกัน ที่โผล่มาบ่อยที่สุดในทุกภาคตั้งแต่ ไฟนอลแฟนตาซี II เป็นต้นมา ต้องยกแชมป์ให้ ซิด (Cid) แม้ในแต่ละภาคชื่อจะเหมือนกัน แต่ไม่ได้เป็นคนเดียวกัน เพียงแค่จะมีลักษณะร่วม คือ เป็นเจ้าของ นักประดิษฐ์ ไม่ก็คนขับเรือเหาะ แม้ในภาพยนตร์ Final Fantasy: The Spirits Within ก็ยังมี ซิด (Sid) เพียงแค่สะกดคนละแบบ นอกจากนี้ Biggs กับ Wedge 2 คู่หู ที่เอาชื่อมาจากสตาร์วอรส์ ก็มีให้เห็นใน ไฟนอลแฟนตาซี VI,ไฟนอลแฟนตาซี VII, ไฟนอลแฟนตาซี VIII และ ไฟนอลแฟนตาซี X-2 Gogo (ไฟนอลแฟนตาซี V และ ไฟนอลแฟนตาซี VI) กิลกาเมช (ไฟนอลแฟนตาซี V, ไฟนอลแฟนตาซี VIII และ ไฟนอลแฟนตาซี IX) Lonewolf นักล้วงกระเป๋า (ไฟนอลแฟนตาซี V และ ไฟนอลแฟนตาซี VI) และ Sara (ไฟนอลแฟนตาซี I, ไฟนอลแฟนตาซี III, และ Final Fantasy IX) พล็อตเรื่อง – เนื้อเรื่องในแต่ละภาคมักเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ เช่น กลุ่มคนที่รวมกันเพื่อต่อต้านอิทธิพลทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา หรือสิ่งชั่วร้ายที่จะทำลายล้างโลก หรือความแตกต่างระหว่างธรรมชาติและเทคโนโลยี พล็อตเรื่องที่เป็นที่นิยมอีกอย่างหนึ่ง คือ เนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับ คริสตัล พลังทั้ง 4 ของโลก ที่ถูกควบคุมโดยคริสตัล ซึ่งเนื้อเรื่อง มักให้เราหาสาเหตุที่ว่า ทำไมโลกจึงปันป่วน, คริสตัลหายไปไหน, ตามหาคริสตัลคืนกลับมา (ไฟนอลแฟนตาซี I, ไฟนอลแฟนตาซี III, ไฟนอลแฟนตาซี IV, ไฟนอลแฟนตาซี V, ไฟนอลแฟนตาซี IX, และ ไฟนอลแฟนตาซี XI) อีกทั้งในภาคพิเศษ (Final Fantasy Mystic Quest and Final Fantasy Crystal Chronicles)