
เอ็มสตาร์
- troyhuangg
- 0
- Posted on
เอ็มสตาร์ เป็นเกมออนไลน์ของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งพัฒนาภายใต้เอนจินเกม อันเรียล เอนจิน 3(Unreal Engine 3) ของบริษัท อีพิค เกม (Epic Games) ในเกมนี้ได้กำหนดให้ผู้เล่นสามารถแต่งเสื้อผ้าตัวละครของตน พร้อมกับสามารถสร้างห้องพักและตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ได้เองจากเงินในเกม และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่นคนอื่นๆ ซึ่งผู้เล่นสามารถหาได้จากการเล่นเกมในโหมดต่างๆ เกมได้ยุติการให้บริการในประเทศเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 แต่ภายหลังได้เปิดให้ทดสอบอีกครั้งในประเทศจีนในวันที่ 24 กันยายน 2553 ภายใต้ชื่อ MStar แต่ก็ปิดให้บริการไปอีกครั้งในวันที่ 7 ตุลาคม 2553 เนื่องจากปัญหาของสัญญาที่ไม่สามารถตกลงกันได้ระหว่างผู้พัฒนากับผู้ให้บริการในประเทศจีน ต่อมาทางบริษัท CJ E&M Corp (CJ Internet เดิม) ของประเทศเกาหลีใต้ได้นำมาเปิดทดสอบใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 20 มกราคม – 26 มกราคม 2554 และทำการทดสอบครั้งที่สอง ในวันที่ 26 พฤษภาคม – 29 พฤษภาคม 2554 จนในที่สุดได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 และล่าสุดประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ที่เปิดให้บริการเกมเอ็มสตาร์โดยผ่านบริษัท อินิทรี ดิจิตอล จำกัด โดยจะมีการให้เข้าทดสอบในช่วง Pre-Open Beta ในวันที่ 30 ตุลาคม 2554 โดยไม่จำกัดจำนวนไอดี
ต่อมา สัญญาที่บริษัท Nurien (ผู้พัฒนาเกมในเครือ Netmarble) ได้ทำไว้กับบริษัท อินิทรี ดิจิตอล จำกัดก็ได้สิ้นสุดลงโดยที่ไม่ได้รับการต่อสัญญาจากผู้พัฒนา เนื่องจากก่อนที่สัญญาจะสิ้นสุด ผู้พัฒนาได้มีการมอบหมายให้บริษัท เน็ตมาร์เบิล (ประเทศไทย) จำกัดไว้เป็นผู้ให้บริการรายใหม่ในประเทศไทยแทน ทำให้การให้บริการผ่านพอร์ทัล myGAME ของ Ini3 สิ้นสุดลงในวันที่ 28 ธันวาคม 2557 โดยมีการร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการรายเดิมและรายใหม่ในการโอนย้ายข้อมูลผู้เล่นระหว่างวันที่ 2 – 28 ธันวาคม 2557 และ Netmarble พร้อมเปิดให้บริการเกมอีกครั้งในเดือนมกราคม 2558 โดยที่การปรับปรุงตัวเกมภายใต้ผู้ให้บริการรายใหม่นี้อาจสะดวกและรวดเร็วกว่าผู้ให้บริการเดิมเนื่องจาก Netmarble มีฐานะเป็นทั้งผู้พัฒนาเกมและผู้ให้บริการเกมเอ็มสตาร์ในประเทศไทย ในตอนแรก เกมจำกัดระดับผู้เล่นไว้ที่ทุกระดับ (All) เมื่อนำกลับมาเปิดให้ทดสอบใหม่ผ่านทางบริษัท CJ E&M Corp เกมได้เลื่อนระดับมาเป็นอายุไม่ต่ำกว่า 12 ปี (12+) ปัจจุบันเกมถูกเลื่อนระดับมาเป็นอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี (18+) โดยเนื่องจากมีฟังก์ชันการแสดงท่าทางของคู่รักบางท่าที่ไม่เหมาะสมต่อเด็ก และ เสื้อผ้าพิเศษที่มีการเปลือยของฝ่ายเพศหญิง (มีสิ่งปกปิดส่วนต้องห้าม)
ผู้เล่นต้องกดลูกศรตามสัญลักษณ์ที่ปรากฏขึ้นตามจุดต่างๆ บนหน้าจอ ซึ่งลูกศรแต่ละจุดมีวงแหวนที่ค่อยๆ แคบลงจนมันลงมาเสมอขอบวงกลมลูกศรนั้นๆ โดยผู้เล่นต้องกดปุ่มลูกศรให้ตรงกับจังหวะที่วงแหวนลดลงมาเท่ากับขอบวงลูกศรนั้นๆ (คล้ายเกม โอ๊ทส์! ทาทาคาเอะ! โอเอนดัน ใน นินเทนโด ดีเอส) โดยการลดลงของวงแหวนที่ครอบอยู่ในลูกศรต่างๆ จะสัมพันธ์กับความเร็วของเพลง รูปแบบลูกศรในเกม มีดังนี้
ปุ่ม – เป็นลักษณะปุ่มกดครั้งเดียว เมื่อกดแล้วจะหายไปโดยผู้เล่นจะได้คะแนน หากไม่กดจะขึ้น Miss และพลังชีวิตจะถูกลด (แถบสีน้ำเงินในช่องกลมด้านขวาล่าง) เมื่อกดถูกต้องไปเรื่อยๆ จะไปเพิ่มแถบคอมโบที่อยู่ด้านขวาล่างบริเวณขอบบน หากแถบนี้เต็มจะได้คะแนนบวกเพิ่ม ปุ่มจะมีสองประเภทคือแบบทิศทาง และแบบวงกลมแดง โดยแบบทิศทางให้กดปุ่มลูกศรตามที่กำหนด ส่วนแบบวงกลมแดงให้กด Space Bar แทน
คู่ – เป็นลักษณะปุ่ม 2 ปุ่มให้กดพร้อมกันในครั้งเดียว โดยจะมีเส้นเชื่อมให้ผู้เล่นสังเกตได้ง่าย เป็นลักษณะเหมือนเส้นกระแสไฟฟ้าเชื่อมระหว่าง 2 ปุ่มนั้นๆ
ลากยาว – จะเป็นวงแหวนมาครอบตัวผู้เล่น ให้กดปุ่มลูกศรลงเมื่อวงแหวนสีขาวกับสีน้ำเงินแนบสนิทกันด้านบน และกดค้างไว้เรื่อยๆ จนกว่าวงแหวนสีขาวจะลากลงมาจากบริเวณหน้าอกของตัวละครถึงบริเวณหน้าแข้งตัวละคร ในขณะนั้นจะมีวงแหวนสีน้ำเงินมาครอบด้านล่าง เมื่อวงแหวนสีขาวกับสีน้ำเงินครอบกันสนิท ค่อยปล่อยปุ่มลูกศรลง
ดาว – ส่วนใหญ่จะปรากฏเทิร์นละ 2 อัน ถ้าผู้เล่นสามารถกดลูกศรรูปดาวได้ จะได้ดาวไปสะสมทางด้านขวาล่างของหน้าจอ
สเปเชียล คอมโบ – เป็นชุดลูกศรเพิ่มคะแนนพิเศษ มีลักษณะเป็นเส้นไฟฟ้าบนวงแหวนที่จะมาครอบวงกลมลูกศร จะมีลูกศรประเภท ปุ่ม คู่ ลากยาว ดาว ผสมกันอยู่ หากกดได้ครบโดยไม่พลาดเลย จะได้คะแนนพิเศษเพิ่มพร้อมตัวหนังสือขึ้นเป็นคำว่า Special Combo ซึ่งในบางครั้งชุดลูกศรนี้ มักจะปรากฏลูกศรแบบถี่ๆ หรือเคลื่อนที่ไปมา เพื่อให้ผู้เล่นกดพลาด หากกดพลาดลูกศรจะเปลี่ยนเป็นลูกศรธรรมดาแทน และไม่ได้รับคะแนนพิเศษเพิ่มแต่อย่างใด
เฮาว์กินซ์ ตัดสินใจที่จะขายตรงสินค้ากับผู้ซื้อและการรวมกลุ่มของบริษัทครั้งนี้คือการบุกเบิกตราสินค้าประเภทเกม ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ยอดการเติบโตพุ่งสูงอย่างเป็นที่หน้าท้าทายของวงการ ในขณะนั้นเม็ดเงินกำไรในปีแรกมีมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีถัดมามียอดกำไรสูงถึง 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อดีตประธาน แลล์รี่ โพรพซ์ เข้ามาดำรงในตำแหน่งรองประธานบริษัทในปี พ.ศ. 2507 ซึ่งเขาได้มีส่วนช่วยให้บริษัทมีการเติบโตที่ยั่งยืนและทำเป้าถึง 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลาสามปีเต็มการประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ในการทำยอดขายของผู้จัดทำเกมในสหรัฐอเมริกา เวลาถัดมาได้มีการย้ายไปที่สหราชอาณาจักรเพื่อเปิดตัวสำนักงานใหญ่ในทวีปยุโรป โดย เดวิด การ์ดเนอร์ และ มาร์ค ลีวิส กระทั่งถึงจุดที่อีเอแพร่ผลิตภัณฑ์และเกมจำนวนมากผ่านการแปลงเพื่ออัดข้อมูลลงในรูปแบบของตลับเทปคาสเซ็ท ซึ่งมีการดูแลกิจการในทวีปยุโรปโดยบริษัท เอริโอลาซอฟท์ ขณะเดียวกันบริษัทขนาดย่อยในเวลส์ ได้มีการใช้ชื่อ อิเล็กทรอนิก อาตส์ และ อิเล็กทรอนิก อาตส์ ได้รู้จักกันเป็นวงกว้างมากขึ้นอย่างชอบด้วยกฎหมายในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ในชื่อของ อีเอโอ มีต้นแบบมาจากโลโก้ทรงเลขาคณิต ประกอบด้วย สี่เหลี่ยมจัตุรัส วงกลม และสามเหลี่ยม การยุติการค้าของบริษัทชนชาติเวลส์ในปี พ.ศ. 2540 ต่อมา ซึ่งทำให้ อิเล็กทรอนิก อาตส์ เข้าถือสิทธิ์ของชื่อนี้อย่างถูกต้อง
เฮาว์กินซ์ มีพึงพอใจในการใช้คำว่า อิเล็กทรอนิก และเจ้าพนักงานส่วนมากพิจารณากลุ่มคำ “อิเล็กโทรนิค อาร์ทิส” และ “อิเล็กโทรนิค อาร์ต” ขณะเดียวกันมีกลุ่มคนในบริษัทรวมทั้ง กอร์ดอนแนะนำการใช้ชื่อ “บลู ไลท์” ซึ่งอ้างอิงมาจากภาพยนตร์เรื่อง “ทรอน” ในการตอนที่กอร์ดอนและคนอื่นร่วมกันผลักดันชื่อ “อิเล็กโทรนิค อาร์ทิส” ซึ่งนายสตีฟ เฮยร์ มีอาการต่อต้านพร้อมกับกล่าวว่า “พวกเราไม่ใช่จิตกรหรือศิลปิน มันหมายถึงผู้พัฒนาคนที่อีเอจะเลือกเกมมาออกมาแพร่ตลาด” ซึ่งคำอธิบายนี้ทำให้ทัศนคติของชื่อ อิเล็กทรอนิก อาตส์ เป็นที่เอกฉันท์ในการอนุญาตใช้อย่างเป็นทางการ ปัจจุบันอีเอมีก่อตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เรดวูดส์ ชอรส์ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับ เรดวูดส์ ซิตี้ รัฐแคลิฟอร์เนีย จากการถอนตัวของ ทริป ฮาว์กินซ์ ซึ่ง แลล์รี่ โพรพซ์ เข้ารับตำแหน่งต่อในการการควบคุมและบริหารอยู่ในระดับที่ประสบความสำเร็จ นายโพรพซ์ พิจารณาตัวของเขาเองว่าเป็นผู้ชายที่มีกฎระเบียบในการปฏิบัติ เขาปฏิเสธการทำตามของ บริษัทเทค ทู อินเทอแรคทีฟ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีการทำงานร่วมกัน ในการทำเกมชื่อ แกรนด์เธฟต์ออโต ที่จัดอยู่ในประเภท เอ็ม เรท ซึ่งหมายถึงประเภทของเกมที่ไม่เหมาะสมกับผู้มีอายุต่ำกว่าสิบเจ็ดปี ซึ่งประกอบไปด้วยภาพ เสียงและข้อมูลที่รุนแรงและอาจจะปะปนเรื่องของเพศ ต่อมาแกรนด์เธฟต์ออโตกลายเป็นเกมที่มีอำนาจครอบงำต่อสถิประชากรจำนวนมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ถึง 2546 ผลที่ตามมาคือ นาย โพรบส์ ออกมาวิจารณ์อย่างหนักกับนักวิเคราะห์ของ วอล์ลสตรีท คนที่เชื่อว่าเป็นเพราะนโยบายนี้ หลักทรัพย์ของบริษัทอีเอจึงมียอดราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ต่อมาในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2548 อีเลคโทรนิค อาร์ต ตีพิมพ์เอกสารแสดงผลกำไรที่ออกมาว่ากล่าวเรื่องการขาดแคลนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และการขายสินค้าได้ต่ำกว่าเป้า